บริการรับวางระบบ Network ระบบ LAN ภายในองค์กร โรงเรียน หน่วยงานราชการ บริษัทต่างๆ
รับวางระบบเครือข่าย LAN Network (Intranet) ราคาย่อมเยาว์ สนใจติดต่อได้ที่หน้าติดต่อเราค่ะ
LAN คืออะไร ?
1. ความหมายของ ระบบ LAN
LAN ย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า "ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก" ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการ และ ผู้ใช้บริการ โดยที่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้าง หน่วยความจำ ได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
2. วัตถุประสงค์ของ ระบบ LAN
ระบบ LAN ซึ่งเป็น ระบบเครือข่าย แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในวงที่ไม่ใหญ่โตนัก โดยจะมี คอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ ต่อเข้าเพื่อขอใช้บริการ ดังนั้นในระบบ LAN จึงเป็นลักษณะที่ผู้ใช้หลายบุคคลมาใช้ข้อมูลร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่างๆ ตามหัวข้อต่อไปนี้
- แบ่งการ ใช้แฟ้มข้อมูล
- ปรับปรุงและจัดการ แฟ้มข้อมูล ได้ง่าย
- แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
- สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
- การแบ่งปันการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม CD-ROM ฯลฯ
- การแบ่งปันการใช้ โปรแกรมซอฟต์แวร์
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
- ควบคุมและดูแลรักษาข้อมูลได้ง่าย
- สามารถรวมกลุ่มผู้ใช้ ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
- เพื่อการติดต่อสื่อสาร ของผู้ใช้เช่น บริการ Email ,Talk ฯลฯ
ดังนั้น ระบบ LAN จึงเป็นที่นิยมกันในส่วนของ บริษัท สถานศึกษา และหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ซึ่งจะให้ผลที่คุ้มค่าในระยะยาวนาน
3. การเชื่อมโยง เครือข่ายของ ระบบ LAN
มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง โครงข่ายของ ระบบเครือข่าย (Topology) และ โปรโตคอล ที่ใช้ในระบบ LAN และจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้ใน ระบบ LAN และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN มีดังต่อไปนี้
- 3.1 โครงข่ายของ ระบบเครือข่าย(Topology)
- 3.2 โปรโตคอล ที่ใช้ในระบบ LAN
- 3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
- 3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ LAN
- 3.1.1 แบบดาว (Star)
- 3.1.2 แบบวงแหวน (Ring)
- 3.1.3 แบบบัส และ ทรี (Bus and Tree)
3.1 โครงข่ายของ ระบบเครือข่าย (Topology)
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบ LAN วิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
3.1.1 แบบดาว (Star)
ในระบบ โทโปโลยี แบบดาว นั้นจะเป็นลักษณะของ การต่อเครือข่าย ที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้ การสื่อสาร ได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้ งบประมาณ สูง ใน การติดตั้ง ครั้งแรก
3.1.2 แบบวงแหวน (Ring)
ในระบบ โทโปโลยี(รูปแบบการเชื่อมต่อ) แบบวงแหวน(Ring) นั้น ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกัน แบบเรียงลำดับ เป็น วงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะ ลบข้อมูล ออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็น รีพีทเตอร์ ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้
3.1.3 แบบบัส (Bus)
ในโทโปโลยี แบบบัส และทรี (Bus and Tree) นั้นได้มีการทำงานที่คล้ายกันกล่าวคือ แบบบัส จะมีเคเบิลต่อถึงกันแบบขนาน ของแต่ละโหนด ส่วนแบบทรีนั้น จะมีการต่อแยกออกเป็นสาขาออกไปจาก เคเบิ้ล ที่ใช้แบบบัสนั้นเอง ดังนั้นเมื่อมีการส่งข้อมูลจากโหนดใดทุกๆ โหนดบนระบบข้อมูลจะเข้าถึงได้ เนื่องจากอยู่บนเส้นทางสื่อสารเดียวกัน ในการส่งข้อมูลนั้น จะส่งเป็นเฟรม ข้อมูลซึ่งจะมีที่อยู่ของผู้รับติดไปด้วย เมื่อที่อยู่ผู้รับตรงกับ ตำแหน่งของโหนดใดๆ บนระบบ โหนดนี้จะรับข้อมูลเข้าไป และส่งข้อมูลมาพร้อมกันนั้นจะเกิดการชนกันของข้อมูล แล้วจะสุ่มเวลาขึ้นใหม่เพื่อส่งข้อมูลต่อไป ในการสื่อสารตามมาตรฐาน 802.4 นั้นมีด้วยกัน 3 แบบคือ แบบที่ 1 มีความเร็ว 1 Mbps ใช้สายข้อมูลแบบโคแอกเชียล 75 โอห์ม และสายเคเบิลหลักจะต้องไม่มีการต่อแยกแขนงออกไป ในแบบที่ 2 ซึ่งเรียกกันว่าแบบเบสแบนด์นั้นจะมีความเร็ว 5-10 Mbps ใช้สายแบบเดียวกับแบบที่ 1 แต่สัญญาณภายในจะเข้ารหัสแบบ FSK และแบบที่ 3 หรือ แบบบรอดแบนด์ จะใช้สายทรังก์ ซึ่งสามารถใช้ได้กับความเร็ว 1,5 และ 10 Mbps ซึ่งสัญญาณภายในสายจะเป็นแบบ AM นั้นเอง
3.2 โปรโตคอล ที่ใช้ใน ระบบ LAN
โปรโตคอล คือ รูปแบบการสื่อสาร ของ เครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ Software มีความเข้ากันได้กับ Hardware โปรโตคอล นั้นได้ถูกกำหนดให้เป็น มาตรฐาน โดย ISO ซึ่งเป็นโมเดลแบ่งออกได้ 7 ระดับคือ PHYSICAL, DATALINK, NETWORK, TRANSPORT, SESSION, PHESENTA และ APPLICATION ตามลำดับ ในระบบ LAN นั้นจะใช้เพียงสองระดับล่างเท่านั้น เนื่องจากว่า LAN สามารถใช้ได้กับ โทโปโลยี ได้หลายแบบนั้นเอง จึงไม่ได้ใช้ระดับที่ 3 ขึ้นไป ในระดับที่ 1 นั้นเป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล เป็นบิต เกี่ยวข้องกับ ระดับแรงกันไฟฟ้า ความถี่ และคาบเวลา ต่างๆ ส่วนระดับที่ 2 นั้นเป็นระดับ การแปลงข้อมูล เป็นบล็อก และเฟรม พร้อมทั้ง ตรวจสอบข้อผิดพลาด ด้วย โพรโตคอล Protocal ที่ใช้กันมากในระบบ LAN นั้นมีอยู่ 2 แบบคือโพรโตคอล แบบโทเก้นบัส และโพรโตคอลแบบ CSMA/CD เป็นต้น
- 3.3.1 สายนำสัญญาณ
- 3.3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ใน ระบบ LAN
ในระบบ LAN อุปกรณ์ ที่ใช้ใน การเชื่อมโยง นั้นมีไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็น การใช้ เพื่อต่อ เชื่อมโยงเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 อย่างโดยทั่วๆ ไปดังนี้
3.3.1 สายนำสัญญาณ
สายนำสัญญาณ นับถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบเครือข่ายที่ทำให้คอมพิวเตอร์ มี การติดต่อสื่อสาร กันในระยะทางที่ไกล สายนำสัญญาณ นั้นมีหลายชนิด มากมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติของสาย สภาพการใช้งาน และความเหมาะสมการใช้งาน สายนำสัญญาณที่ใช้ใน ระบบ LAN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ลักษณะ ต่างๆ คือ สายสัญญาณ แบบคู่บิดเกลียว ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภท แรก เป็นชนิด UTP (Unshield Twisted Pair) เป็นสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ใช้ยาวไม่เกิน 100 เมตร สายที่ใช้ แบคโบน นั้น เป็นสายขนาด 25 คู่สายในมัดเดียว รองรับการสื่อสารได้สูงถึง 100 Mbps และ ประเภทที่ 2 ชนิด STP (Shield Twisted Piar) เป็นสายที่พัฒนามาจากสาย UTP โดยมีชีลด์ห่อหุ้มภายนอก ใช้ข้อมูลการสื่อสารได้ 100 Mbps สาย STP ที่เป็นแบคโบน นี้เป็นสายที่ออกแบบมาให้ไปได้ระยะทางที่ไกลขึ้น สายโคแอกเชียล เป็นอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันมากเป็นสายนำสัญญาญที่ ป้องกัน สัญญาณรบกวน ได้มากทีเดียว สายชนิดนี้ในระบบบัส และใช้เดินระยะใกล้ๆ และ เส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสง 500 nM-1300nM ส่งผ่านไปยังตัวกลาง สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะสะท้อนกลับภายใน ทำให้มี การสูญเสียสัญญาณ น้อยมาก ทำให้ได้ ระยะทางไกล ขึ้นขณะที่ใช้กำลังส่งที่น้อยและมี สัญญาณรบกวน ที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับ สายนำสัญญาณ ชนิดอื่นๆ สาย ชนิด เส้น ใยแก้วนำแสง นี้มักใช้เป็นแบคโบน โดยจะรองรับการสื่อสารได้สูงถึง 800 Mbps หรือมากกว่า แล้วแต่ล่ะชนิดที่นำมาใช้
3.3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย
อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่ายนั้นมีด้วยกันมากมาย ด้วยคุณลักษณะของการใช้งาน แบบต่างๆ และยังคงได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN นั้นได้ยกตัวอย่างที่ พบกันมากดังต่อไปนี้ แผ่นการ์ดเครือข่าย เป็นแผ่นอินเตอร์เฟสสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นการ์ด NIC มีคุณสมบัติต่างที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่าย และชนิดของคอมพิวเตอร์ อีกด้วย ฮับ (HUP) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงระหว่างสายตามมาตรฐาน 802.3 นั้นใช้เชื่อมโยงใน โทโปโลยี แบบสตาร์ ใช้สาย UTP ยาวไม่เกิน 100 เมตร และยังสามารถ ขยาย PORT ได้มาก ซีดีรอมเซิร์ฟเวอร์ (CD-ROM Server) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเช่นเดียวกัน เพื่อใช้แบ่งปันการใช้ข้อมูลต่างๆ ใน CD-ROM เอง รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย เพื่อช่วยให้ขยายสัญญาณให้สูงขึ้น ทำให้ส่งข้อมูลหรือสื่อสาร ข้อมูลได้ไกลขึ้นนั้นเอง บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างระบบ โดยที่ บริดจ์ มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือแบบ Internal Bridge และแบบ External Bridge เกตเวย์ (Gateway) เป็น อุปกรณ์ ที่ทำงานคล้ายกัย Bridge แต่จะใช้ การเชื่อมต่อ กับระบบที่ใหญ่กว่ามี ประสิทธิภาพ ที่สูงกว่า และความเร็วที่สูงกว่า และ เราเตอร์ (Router) เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ที่มีมากกว่า หนึ่งเซกเมนต์ เพื่อกำหนดเส้นทางข้อมูลได้มากขึ้น ต่อไป
3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน ระบบ LAN
คือ ระบบปฏิบัติการ เครือข่าย ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ สามส่วนผลิตภัณฑ์บางชนิด รวมสามส่วนไว้ในโปรแกรมเดียว บางชนิดก็ซับซ้อนกว่า แบ่งงานออกเป็นโมดูล ลายตัว ส่วนแรกเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับล่างสุด กับหน้าที่จัดเตรียมและดูแลการเชื่อมต่อให้คงอยู่ ซอฟต์แวร์ส่วนนี้ ประกอบด้วยโปรแกรม ไดรเวอร์ สำหรับเน็ตเวิร์คอแดปเตอร์ ส่วนที่เหลืออีกสองส่วนหนึ่งคือส่วนที่อยู่ในสถานีงานจะสร้างข่าวสาร การร้องขอ และส่งไปยังไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ส่วนซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN จากดาวถึง 2 โปรแกรม คือ Corbon Copy และ PC Anywhere โดยจะได้อธิบายถึงการทำงานและความสามารถของมัน Corbon Copy นั้นใช้งาน Novell LX และ NetBEUI ส่วน PC Anywhere เวอร์ชัน 4.5 ของบริษัท Norton นั้นเป็นภาพที่ทำงานด้วยเมนู มีการตรวจวิเคราะห์ Hard ware ที่คงอยู่ ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ของโปรแกรมซึ่งจะเกี่ยวกับ การใช้ Hard disk เมื่อเวิร์กสเตชัน ต้องการใช้ข้อมูล ก็ส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อส่งให้ เซิร์ฟเวอร์ทำงาน แต่ในทางปฏิบัติงาน NetWare กระบวนการในการลำดับงานไม่สามารถกำหนดระดับ ความสามารถ ของงานได้ ดังนั้น งานที่มีการใช้งาน Hard disk มากๆ จะมีผลทำให้ การบริการกับงานอื่นๆ ช้าลงอย่างชัดเจน โปรแกรม ที่เหมาะกับ ระบบ LAN ก็คือ ระบบงานที่ในลักษณะ Client Server ซึ่งจะเป็นการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุด
4. ผลที่ได้จากการทำงานของ ระบบ LAN
การจัดการแฟ้มข้อมูล (File managent) เป็นการแบ่งใช้แฟ้มข้อมูล (Share file) และสอบถามแฟ้มข้อมูล (Transfer file) การใช้โปรแกรมร่วมกัน (Share application)การใช้อุปกรณ์ภายนอกร่วมกัน (Share Peripheral devices) เป็นเครื่องพิมพ์, ซีดีรอม, เครื่องสแกน,โมเด็มและเครื่องอ่านเขียนเทป และติดต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในเน็ตเวิร์คเป็นค่าตารางเวลาของกลุ่ม (Group Scheduling)รับ และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จัดการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเล่นเกมแบบเน็ตเวิร์ค และผลที่ได้จากระบบแลนนี้จะสามารถทำทุกอย่างทัดเทียมกับ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์ ในราคาที่ต่ำกว่า ผู้ใช้สามารถแบ่งปันทรัพยากร และ สารสนเทศ ของคอมพิวเตอร์ และพวกเขายังสามารถทำงานรวมกันใน โครงการ หรืองานที่ต้องมี การประสานงาน และ การติดต่อสื่อสาร แม้จะไม่ได้อยู่บริเวณใกล้กันก็ตาม นอกจากนี้ถ้า เครือข่าย เกิดขัดข้อง คุณก็ยังคงทำงานต่อไปด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเขาถ้าเกิด การผิดปกติ จะทำให้งานในแผนกหรือ บริษัท ของเขาหยุดชะงัก แต่ LAN สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
- แบ่งปันการใช้ไฟล์โดยการสามารถใช้ข้อมูลเดียวกันถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆตัวได้
- การโอนย้ายไฟล์ โดยการโอนสำเนาจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนดิสเกตต์
- เข้าถึงข้อมูล และไฟล์ โดยการจะให้ใครก็ได้ใช้งาน ซอฟต์แวร์บัญชี หรือ แอปพลิเคชั่น LAN ทำให้คนสองคนใช้ โปรแกรมชุดเดียวกันได้
- การป้องกัน การป้อนข้อมูล เข้าใน แอปพลิเคชั่น พร้อมกัน
- แบ่งปัน การใช้เครื่องพิมพ์ โดยการใช้แลน เครื่องพิมพ์ ก็จะถูกแบ่งปันการใช้ตาม สถานี หลาย ๆเครื่องถ้าทั้งหมดที่ต้องการคือ การใช้ Printerร่วมกัน
5. แนวโน้มในอนาคตของ ระบบ LAN
แนวโน้มในอนาคตของระบบ LAN ต่อไปนี้สิ่งที่คุณควรทราบ ระบบปฏิบัติการ LAN หลัก ๆ ล้วนแต่เร็วพอสำหรับความต้องการใด ๆ ในทางปฏิบัติขององค์การ ความเร็ว เป็นเพียงปัจจัยส่วนน้อยในการเลือก ระบบปฏิบัติการ เครือข่าย ระบบปฏิบัติการ กำลังมีความเข้ากันได้และทำงานได้มากขึ้น Net Ware ครอง ส่วนแบ่งตลาด มากที่สุดและห่างจากคู่แข่งมาก Windows NT ของ Microsoft เป็นผู้ท้าชิงที่น่ากลัวสำหรับ Net Were ผลิตภัณฑ์บนฐานของ Dos เช่น LANtastic และ POWERlan มีอนาคตที่ไม่สดใส เนื่องจากการทำ เครือข่าย ถูกสร้างไว้ใน Microsoft Windows ขนาดของตลาด และ ศักยภาพ ในการทำกำไรทำให้ การแข่งขัน ระหว่างผู้ค้า ระบบปฏิบัติการ LAN เป็นไปอย่างดุเดือด Novell ผู้ซึ่งครอบส่วนแบ่งตลาด 70 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่ายสำหรับพิธี ไม่ใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียวอีกต่อไป แม้ว่าบริษัทที่ขาย ระบบปฏิบัติการ เครือข่ายอื่นยังไม่สามารถแย่ง ส่วนแบ่งตลาด จาก Novell ได้มากนักทุกรายก็กำลังทุ่มเทเงินให้กับทำการตลาดและ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ของตนเองโดยมี Microsoft เป็นผู้นำ
ในปี 1989 ผู้ค้าระบบปฏิบัติการเครือข่าย ได้เติม เชื้อเพลิง ให้กับ การเติบโต ของเครือข่ายด้วยการประกาศและส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ ที่ทำตาม มาตรฐาน เปิดเทน โปรโตคอล เฉพาะตัว ATOT, Digital และ 3COM
นำอุตสาหกรรมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถ ในการทำงานร่วมกัน ตามมาตรฐานเปิด แทนที่จะต้องลงบันทึกเข้าและควบคุมแต่ละบัญชีด้วย มาตรฐานการสื่อสาร เฉพาะตัว พวกเขาล่อใจผู้ซื้อด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำงานตาม มาตรฐาน
ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติในทศวรรษ 1990 บริษัทในตลาดที่ยังคงให้ผู้ซื้อด้วยความเข้าใจกันและ ความสามารถ ในการทำงานร่วมกันเพิ่มขึ้น แนวโน้มนี้ไปไกลจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ บริษัท ไม่เพียง สนับสนุน มาตรฐาน เปิดเท่านั้น พวกเขายังส่ง ซอฟต์แวร์ สำหรับ โพรโตคอล เฉพาะตัวของกันและกัน Microsoft ได้ยอมรับเอาโพรโตคอล IPX ของ Novell เป็นโพรโตคอลเครือข่ายโดยปริยายสำหรับ Windows NT Performance Technology และ Artisoft ได้กลายเป็นไดล์เอนต์สำหรับ ระบบปฏิบัติการ เครือข่ายทุกตัว และ Novell กำลังรุกไล่การเชื่อมต่อของ UNIX
ในทางปฏิบัติ การสนับสนุนหลาย โพรโตคอล (Protocal) ความหมาย ก็คือ ผู้บริหาร สามารถ ปรับแต่ง พีซี บนเครือข่ายเพื่อให้ไดร์ฟ F: ของ Dos เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของแต่ละเครื่อง
ความสามารถนี้มีให้ใช้แล้วในปัจจุบัน แต่ล้วนประกอบต่าง ๆ ต้องถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวัง
ความสามารถ ในการทำงานร่วมกันและ ความยืดหยุ่น ที่ปรับปรุงขึ้นเป็น เป้าหมายหลัก ทางการตลาด และทาง เทคโนโลยี สำหรับบริษัท ซอฟต์แวร์ เครือข่าย ในกลางทศวรรษ 90 เช่นเดียวกับที่คุณสามารถผสม Adapter Ethernet จากผู้ค้าต่างกันได้ คุณจะสามารถผสม ส่วนประกอบ ของ ระบบปฏิบัติการ ต่าง ๆ และเชื่อมโยง server ที่ทำงานด้วย ระบบปฏิบัติการ ต่าง ๆ และเชื่อมโยงที่ทำงานด้วย ระบบปฏิบัติการ ต่างกันบน เครือข่าย เดียวกัน ทุกตัวให้บริการแก่ ไคลเอนต์ เดียวกัน
ในปัจจุบันนี้ ระบบเครือข่าย LAN ได้เป็นที่รู้จัก และ นิยม ใช้กันอย่างแพร่หลายตาม office ของ บริษัท ต่าง ๆ เพื่อ ประหยัด ใน การลงทุน ซื้อ เครื่องปริ้นเตอร์, ซีดีรอม, โมเด็ม, เครื่องโทรสาร และรวมไปถึง เครื่องคอมพิวเตอร์
เพราะสามารถแบ่งปันกันใช้ได้ บริษัท ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ที่ใช้ใน ระบบ LAN ต่างก็แข่งขันกันใน ตลาดคอมพิวเตอร์ ต่างก็พัฒนาให้มี คุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ให้ดีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะรู้จัก และเข้าใจใน
ระบบแลน ให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะติดตั้ง ระบบ LAN เองบ้าง เพื่อจะได้ คุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ตามที่เราต้องการ